"ประตู หน้าต่าง" นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของบ้าน ที่หลายคนมองข้ามหรือไม่ได้ตรวจรายละเอียดให้ดี เพราะไม่เพียงทำหน้าที่เป็นทางเข้า-ออก รับแสงธรรมชาติ หรือเปิดรับลมเข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ความปลอดภัย เสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีต่อผู้อยู่อาศัย การเลือกใช้ประตู-หน้าต่างอลูมิเนียม ข้อควรคำนึงอันดับแรกคือยี่ห้อเส้นอลูมิเนียมที่ได้มาตรฐาน เพราะประตู-หน้าต่างอลูมิเนียมทั่วไปมักจะมีสารก่อมะเร็งตกค้างอยู่ หรือส่วนผสมของเนื้ออลูมิเนียมไม่ได้คุณภาพ และเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า การเลือกยี่ห้อเส้นอลูมิเนียมจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เพราะประตูหน้าต่างเป็นองค์ประกอบหนึ่งในบ้านที่อยู่กับเราไปหลายสิบปี
"ไทยเม็ททอล" จัดจำหน่ายอลูมิเนียมเส้นทั้งระบบไทย และ ระบบพัฒนา (ที่มีชื่อเรียกหลากหลาย ทั้งระบบยูโรบ้าง ระบบกึ่งยูโรบ้าง ระบบญี่ปุ่นบ้าง เราขอเรียกชื่อโดยรวมว่า ระบบพัฒนา) การเลือกระบบและชนิดของบาน จึงเป็นองค์ประกอบอันดับที่สองที่ต้องตัดสินใจ รูปแบบบานชนิดต่างๆ อาทิ บานเลื่อน บานเปิด บานสวิง บานกระทุ้ง ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในบริบทที่แตกต่างกัน โดยฟังก์ชันพื้นฐานของระบบไทย แต่ละยี่ห้อจะเหมือนกัน ส่วนระบบพัฒนาแต่ละแบรนด์จะออกแบบแตกต่างกัน ตามเป้าหมายการใช้งานโดยมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพของประตูหน้าต่าง อาทิ การกันน้ำเมื่อเจอพายุ กันลมหรือเสียงหวีดลม กันเสียงรบกวนเข้าบ้าน
"ไทยเม็ททอล" พัฒนาระบบ X-Series ประกอบด้วย บานเลื่อนรุ่น X10 บานเลื่อนรุ่น X20 บานเปิด/บานกระทุ้งรุ่น A40 และ บานเฟี้ยมรุ่น F40 และวันนี้เราจะขอพาทุกท่านมาทำความเข้าใจและศึกษาองค์ประกอบต่างๆที่ควรทราบ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อและติดตั้งประตูหน้าต่างให้กับบ้านของท่าน
เช็คลิสต์ข้อควรรู้ก่อนติดตั้งประตู หน้าต่าง อลูมิเนียม
บานเลื่อน
บานเลื่อนเป็นหนึ่งในประเภทประตู หน้าต่างที่นิยมใช้ ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยประหยัดเนื้อที่ จึงเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้ตัวบ้านและสะดวกต่อการใช้งาน บานเลื่อนคือประตูที่เลื่อนเปิดด้วยลูกล้อและรางที่อยู่ในวงกบ มักแบ่งบานประตูเป็น 2, 3, หรือ 4 บาน โดยบานประตูอาจเลื่อนได้เป็นบางบานหรือเลื่อนได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเลื่อนไปในทางเดียวกันเพื่อเก็บที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของประตู หรือเลื่อนสลับจากแต่ละด้านเข้าหากัน
ตัวอย่างบานเลื่อนสลับ 2 บาน ที่เลื่อนสลับจากแต่ละด้านเข้าหากัน
ตัวอย่างบานเลื่อนแบบ 3 บานที่เลื่อนเปิดบานไปในทิศทางเดียวกัน
ตัวอย่างบานเลื่อนแบบ 4 บานที่เปิดด้วยการเลื่อนบานที่ 2 และ 3 แยกออกจากกัน
ประตูบานเลื่อนให้ความโปร่งโล่ง ทำให้มองเห็นวิวภายนอกได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับติดตั้งเป็นประตูออกไปยังระเบียง และส่วนของบ้านที่มีพื้นที่น้อย และหากใช้บานเลื่อนสำหรับกั้นระหว่างห้องหรือพื้นที่ภายในบ้าน ควรเลือกบานเลื่อนแบบที่รางแขวนอยู่ด้านบน หรือบานเลื่อนหลังเต่า เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เดินสะดุดรางบริเวณพื้น
ประตูบานเลื่อนแบบรางแขวนอยู่ด้านบน
ตัวอย่างระบบบานเลื่อนที่ใช้รางแบบฝังพื้น ป้องกันปัญหาเดินสะดุดราง
ตัวอย่างระบบประตูหน้าต่างบานเลื่อนชุดท้องตลาดทั่วไป (ระบบไทย)
ตัวอย่างระบบประตูหน้าต่างบานเลื่อนชุดพัฒนา
เพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำ เสียง ลม อากาศรั่วซึมเข้าสู่ตัวบ้าน
บานเปิด / บานกระทุ้ง
หน้าต่างบานเปิด สามารถติดตั้งเป็นทั้งบานเปิดเดี่ยวหรือบานเปิดคู่ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้สอยที่เอื้ออำนวย หน้าต่างบานเปิดสามารถเปิดได้เพียงด้านเดียว มีระยะบานที่ยื่นออกนอกตัวบ้านการติดตั้งจึงต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับการเปิด
ตัวอย่างบานเปิดเดี่ยวและบานเปิดคู่ เปิดด้วยการผลักบานออกไปข้างหน้า
ตัวอย่างบานกระทุ้ง เปิดด้วยการดันบานขึ้นด้านบน
หน้าต่างบานเปิด/กระทุ้ง เหมาะสำหรับติดตั้งในจุดที่ใช้งานไม่บ่อย หรือต้องการเปิดบานทิ้งไว้ตลอด เพื่อการระบายลม สามรถเลือกทิศทางการเปิดของบาน ทั้งเปิดข้าง หรือ เปิดล่าง (ต้องมีรูปนะ ข้าง กับ ล่าง) ซึ่งถ้าหากเป็นห้องที่ทิศทางลมมาด้านข้าง หน้าต่างบานเปิดจะช่วยดักลมเข้าบ้านได้มากขึ้น ราคาบานกระทุ้งจะมีราคาต่อตางรางเมตรสูงกว่าบานเลื่อน เพราะต้องใช้อลูมิเนียมที่หนาขึ้น และอุปกรณ์ติดตั้งที่รับแรงลมได้มากขึ้น
บานสวิง
ประตูบานสวิงมีหน้าตาคล้ายกับประตูบานเปิด แต่แตกต่างกันที่บานสวิงสามารถผลักเข้า-ออกได้ทั้งสองทาง (180 องศา) จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีคนเดินเข้าออกบ่อยๆ เพราะเปิด-ปิดง่าย โดยประตูบานสวิง เหมาะกับการใช้งานภายใน หรือติดตั้งบริเวณภายนอกที่มีกันสาด เพราะไม่มีระบบกันน้ำ อาทิ ภายในออฟฟิศ ร้านค้า ร้านอาหาร สถานที่ราชการ ติดตั้งบริเวณภายนอกที่มีกันสาด บานสวิงสามารถติดตั้งแบบไม่มีธรณีประตูหรือมีธรณีแบบไม่กันน้ำได้ การติดตั้งบานสวิงมักจะติดตั้งพร้อมกับโช๊คอัพที่ฝังปูนที่พื้น เป็นเสมือนบานพับประตู หรือบางท่านเรียกว่า PIVOT
บานแขวน
ประตูบานแขวนมีหน้าตาคล้ายกับประตูบานเลื่อน แต่รางจะอยู่ด้านบน ช่วยป้องกันไม่ให้คนเดินสะดุดราง เหมาะสำหรับใช้กั้นห้องภายในบ้านเท่านั้น เช่น ห้องครัว ห้องนั่งเล่น บานประตูจะถูกแขวนอยู่กับราวด้านบน จึงต้องคำนวณน้ำหนักและการยึดบานให้ดี ในด้านความสวยงาม ประตูบานเลื่อนแบบรางเลื่อนบนหรือบานแขวนช่วยให้ภาพรวมห้องมีความต่อเนื่อง ทำความสะอาดง่าย และยังสามารถติดตั้งให้บานประตูซ่อนในผนังได้อีกด้วย
บานเฟี้ยม
ประตูบานเฟี้ยม คือบานที่พับทับกันเป็นทบ โดยประกอบไปด้วยบานประตูเล็กๆ หลายบานที่มาต่อกันด้วยบานพับ หากพับเก็บบานจนสุด จะสามารถเปิดรับวิวได้เต็มที่ ช่วยให้บ้านดูกว้างและโล่งมากกว่าประตูรูปแบบอื่น รองรับการใช้งานที่หลากหลาย สามารถติดตั้งเพื่อเป็นประตู-เข้าออก กั้นพื้นที่ภายในระหว่างห้อง หรือภายในและภายนอกบ้าน ระบบรางของบ้านเฟี้ยมจะมีระบบกันน้ำ สำหรับใช้งานภายนอก หรือ ระบบฝังลงพื้นสำหรับภายใน เพื่อไม่ให้สะดุดบาน บานเฟี้ยมเป็นชนิดบานที่มีราคาสูงที่สุด เพราะใช้อลูมิเนียมที่มีความหนาพิเศษในการรับแรง และอุปกรณ์บานพับ ตัวล็อกต่างๆมากกว่าบานชนิดอื่นๆ
บานตาย บานช่องแสง
หน้าต่างบานติดตายหรือช่องแสง คือบานที่เปิดไม่ได้ ติดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ในการรับแสงธรรมชาติ บ้านส่วนใหญ่จึงติดตั้งช่องแสงแทนผนังด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้บ้านดูกว้างขวาง สวยงาม โดยหน้าต่างบานตายหรือบานช่องแสงจะได้พื้นที่กระจกกว้าง รับวิวได้เต็มที่ ให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง สบาย ไม่อึดอัด ข้อดีของบานตายหรือช่องแสง คือไม่มีอุปกรณ์เสริมเหมือนหน้าต่างชนิดอื่นๆ จึงไม่ต้องซ่อมบำรุงบ่อย และสามารถผสมช่องแสงกับประตู-หน้าต่างชนิดอื่นๆได้อย่างอิสระตามความเหมาะสม เช่น ช่องแสงข้างๆประตูทางเข้าบ้าน หรือ ช่องแสงด้านบนบานเลื่อน เป็นต้น
ระบบผนังกระจกเคอร์เทนวอลล์
ชุดอลูมิเนียมเคอร์เทนวอลล์ คือระบบบานติดตายที่สามารถทำได้ สูงและกว้างขึ้น เพื่อรองรับแรงลม หรือ จุดที่ต้องการความแข็งแรงมากขึ้น มักใช้สำหรับอาคารสูงหรือห้องที่ต้องการความโล่ง โปร่ง ช่วยให้มองเห็นวิวจากภายนอกชัดเจน ประยุกต์การใช้งานได้หลากหลาย อาทิ ผนังอาคาร ห้องโถง โถงบันได หรือห้องกระจกภายใน สามารถออกแบบให้ทำสูงได้ตั้งแต่พื้นถึงเพดาน (floor to ceiling) เพราะตัวระบบอลูมิเนียม รับน้ำหนักได้ดีกว่าบานตายทั่วไป
นอกเหนือจากประเภทของประตู-หน้าต่าง คำถามยอดฮิตที่ผู้รับเหมาหรือช่างอลูมิเนียมมักจะถามก็คือขนาดช่องเปิด หรือขนาดบานว่ามีความกว้างและสูงเท่าไหร่ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่เจ้าของบ้านควรเตรียมไว้เพื่อให้ผู้รับเหมาหรือช่างสามารถประเมินราคาเบื้องต้นได้
เพิ่มกราฟฟิกแสดงระยะความสูงกับความกว้างของช่องเปิด
สำหรับบ้านสร้างใหม่ สามารถวัดจากขนาดช่องเปิดในแบบ หลังจากที่จับเซี้ยมปูนเสร็จแล้ว โดยแจ้งหน่วยเป็นหลักเซนติเมตรหรือมิลลิเมตร แต่หากต้องการรีโนเวทประตูหน้าต่าง ให้วัดขนาดตั้งแต่วงกบ (วงกบ = ส่วนที่ติดตั้งกับผนังบ้าน) ทั้งนี้ บานประตู-หน้าต่างที่ผลิตจะมีขนาดเล็กกว่าช่องเปิดของบ้าน เพราะช่างต้องลดระยะจากขอบปูนเล็กน้อย (ด้านละ 5-10 มิลลิเมตร แล้วแต่เทคนิคการติดตั้ง) เพื่อให้สามารถติดตั้งประตูหน้าต่างเข้าไปในช่องเปิดและค่อยเก็บความเรียบร้อยด้วยซิลิโคนและกาว PU หรือ กาวอลิลิก
นอกจากขนาดของบานแล้ว เจ้าของบ้านควรแจ้งช่างเรื่อง “ความหนาของผนังบ้าน” ในจุดที่จะติดตั้งประตู-หน้าต่างด้วย เพื่อที่ช่างจะได้จัดหาระระบบประตู-หน้าต่างที่มีความหนาเฟรมเข้ากับผนังบ้านนั่นเอง
Ref กราฟฟิคหน้าต่างที่วางบนขอบปูน (ทำทั้งแบบชิดนอกและชิดใน)
ทั้งนี้การวางอลูมิเนียมบนขอบปูน ก็ขึ้นอยู่กับความสวยงามหรือปัจจัยอื่นๆด้วย อาทิ ความกว้างของเฟรมอลูมิเนียมไทยมาตรฐานคือ 4 นิ้ว หรือ 10.16 เซนติเมตร หากวางบนผนังที่มีความกว้าง 9 เซนติเมตร จะต้องเลือกว่าจะวางเฟรมชิดในหรือนอก หรือ ระบบพัฒนาที่เฟรมมีความกว้าง 9 เซนติเมตร ติดตั้งอยู่บนผนังที่มีความกว้าง 4 นิ้ว หรือ 10.16 เซนติเมตร อาจจะต้องเลือกว่า จะวางอลูมิเนียม ชิดในหรือนอก หรือจะมีการตกแต่งผนัง หรือคิ้วบัว ด้วยวัสดุอื่นๆเพิ่มเติม เพื่อความสวยงามหรือไม่
ประตูและหน้าต่างที่ดี ควรมีประสิทธิภาพขั้นพื้นฐานเพื่อให้เจ้าของบ้านมั่นใจได้ว่าประตู-หน้าต่างที่ตนเลือกใช้จะช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอม มอบความปลอดภัย เพิ่มความสะดวกสบาย และเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีต่อผู้อยู่อาศัย โดยในปัจจุบัน มีองค์กรต่างๆที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานว่าประตู-หน้าต่างที่ดีควรผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในด้านไหน เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
ตัวอย่างการทดสอบมาตรฐานประตู หน้าต่าง อลูมิเนียม Link : https://youtu.be/Xk5StuGOA2o
"ความหนาของอลูมิเนียม" ความหนาอลูมิเนียมเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่หลายท่านอาจจะเคยได้ยิน เช่น ยิ่งอลูมิเนียมมีความหนามากก็จะยิ่งแข็งแรงมาก ซึ่งความจริงแล้วข้อมูลนี้ถูกต้องเพียงบางส่วน ความหนาอลูมิเนียมที่มีความเหมาะสมในการนำมาประกอบติดตั้งเป็นประตู-หน้าต่างจะอยู่ที่ 1.2 มม. หรือ บานเปิด/กระทุ้ง จะอยู่ที่ 1.5 มม. ขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายที่ได้พัฒนาระบบอลูมิเนียมให้มีความหนาที่เหมาะสมในเชิงวิศวกรรม กล่าวคือ อลูมิเนียมไม่จำเป็นต้องมีความหนามาก แต่ก็มั่นใจได้ในประสิทธิภาพที่เหนือกว่าประตู-หน้าต่างที่เป็นรุ่นท้องตลาดทั่วไป เพราะผ่านการออกแบบระบบหน้าตัดให้มีความแข็งแรง รองรับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่สามารถล็อคได้หลายจุด มอบความปลอดภัยได้มากกว่า รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมต่างๆ (เช่น อากาศ น้ำ เสียง ฝุ่นละออง แมลง) ไม่ให้เล็ดลอดเข้าสู่ตัวบ้าน
โดยระบบที่ถูกพัฒนานี้ ในวงการอลูมิเนียมจะเรียกกันว่า "ชุดพัฒนา" ซึ่งเหมาะสำหรับเจ้าของบ้านที่มีความต้องการเฉพาะ เช่น ผู้ที่ต้องการความเงียบสงบสำหรับการพักผ่อนในห้องนอน ก็สามารถเลือกติดตั้งระบบประตู-หน้าต่างชุดพัฒนาร่วมกับกระจกที่ช่วยป้องกันเสียงรบกวน เป็นต้น
อลูมิเนียมของไทยเม็ททอล จะมีการทำสีอยู่ 2 ระบบคือ แบบชุบสีอโนไดซ์ และระบบพ่นสีฝุ่น(powder coating) โดยการชุบ หรือที่เรียกว่า อโนไดซ์ คือการนำอลูมิเนียมมาชุบน้ำยาเคมี เพื่อให้สีเข้าไปอยู่ในเนื้ออลูมิเนียม โดยมีสีมาตรฐานทั้งหมด 4 สี คือ สีชุบขาว (Natural) รหัส 510, สีชุบชาอ่อน (Light Bronze) รหัส 512, สีชุบชาแก่ (Dark Bronze) รหัส 514, สีชุบดำ (Black) รหัส 519 เครื่องจักรกระบวนการชุบสี ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เพื่อให้สีมีความสม่ำเสมอ เท่ากันในทุกๆล๊อตการผลิต สี ติดทนนาน ผ่านกระบวนการ QA และ QC ทุกชิ้นงาน
ชั้นความหนาของสี ระบบชุบ จะมีความหนามาตรฐานที่ 10 +-2 ไมครอน ทั้งนี้ สามารถสั่งผลิตที่ 15+-2 และ 20+-2 ไมครอนได้ ตามมาตรฐาน ASTM D1400 , ASTM D2244 , ASTM B117 , ASTM D1654
อนึ่งสีชุบ อาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ตามความคุ้นชินของผู้รับเหมา หรือ ช่างแต่ละท้องถิ่น เช่น สีชุบขาว (Natural Anodized) ที่ได้ผิวอลูมิเนียมสีเงิน เงา อาจมีช่างบางท่านเรียกว่า “สีอลูมิเนียม” “สี NA” “สีธรรมชาติ” “สีเงิน” เป็นต้น
ในส่วนของระบบการพ่นสีฝุ่น หรือที่เรียกว่า Powder Coating “ไทยเม็ททอล” สร้างนวัตกรรม PowderTechTM ซึ่งช่วยให้งานพ่นสีมีคุณภาพ ผ่านมาตรฐานประเทศสหรัฐอเมริกา และที่สำคัญก็คือ กระบวนการทำสีของไทยเม็ททอลจะไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายในทุกขั้นตอนการผลิต สีผ่านการอบความร้อน 200 องศา ทำให้สีเข้ากับผิวอลูมิเนียมอย่างแน่นสนิท ไม่ทำให้สีหลุดลอกล่อน และใช้สารในกลุ่ม “เซอร์โคเนียม” เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้งานแทนสาร “โครเมียม” ซึ่งถูกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งที่ส่งผลเสียต่อผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงทำให้ปอดถูกทำลาย โดยมีสีมาตรฐานผิวเรียบและผิวทรายทั้งหมด 7 สี โดยผิวเรียบจะมี สีขาวฟ้า (Blue White) สีขาวนม (Milky White) สีดำ (Space Black) สีน้ำตาลเข้ม (Autumn Brown) และผิวทราย จะมีสีน้ำตาลเข้ม (Dark Oak) สีน้ำตาลอ่อน (Teak Brown) และสีเทา (Sahara Grey) โดยช่างหรือผู้รับเหมาจะเรียกชื่อสีที่ต่างกันออกไป เช่น พ่น อบ เคลือบ ทำให้อาจเกิดความเข้าใจผิดพลาดในการสื่อสาร จึงควรเน้นย้ำกับช่างหรือผู้รับเหมาเพื่อความถูกต้อง
ชั้นความหนาของสี ระบบชุบ จะมีความหนามาตรฐานที่ 60-80 ไมครอน โดยเป็นความหนาที่ดีที่สุด เหมาะกับการอบความร้อน 200 องศา ไม่ทำให้สีหนา หรือ บาง เกินไป หรือ เกิดลักษณะผิวส้มกับชิ้นงาน ตรงตามมาตรฐานประเทศสหรัฐอเมริกา รับประกัน 10 ปี เงื่อนไขการรับประกัน
อนึ่งสีพ่น อาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ตามความคุ้นชินของผู้รับเหมา หรือ ช่างแต่ละท้องถิ่น เช่น “สีอบ” “สีพ่น” “สีเคลือบ” เป็นต้น และหากสนใจเป็นสีอื่นๆ ที่ไม่ใช่สีมาตรฐานของทางไทยเม็ททอล เพียงระบุ รหัสสี โอยอ้างอิจ รหัส RAL หรือ Pantone หรือ รหัสของผู้ผลิต “สีฝุ่น” โดยระบุความเงาของสี ระบุชนิดของผิว ผิวเรียบ หรือ ผิวทราย ทั้งนี้ การสั่งสีพิเศษ จะขึ้นอยู่การ เงื่อนไขการผลิตสีขั้นต่ำ ของผู้ผลิตผงสี เช่น สีบางเฉดอาจจะต้องสั่งสี 200 กิโลกรัมสี ซึ่งสามารถนำมาพ่นชิ้นงานอลูมิเนียมได้ถึง 1000 กิโลกรัม
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือดาวน์โหลดแคตตาล็อกได้ที่ https://www.thaimetal.co/สีมาตรฐาน
ในการติดตั้งบานประตู หน้าต่างอลูมิเนียม สิ่งสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาร่วมกับอลูมิเนียมคือ กระจก เพราะกระจกจะอยู่ติดกับกรอบบานประตู หน้าต่างที่เราต้องใช้งานอยู่สม่ำเสมอ โดยกระจกในแต่ละรูปแบบ ก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป เรามาดูกันว่ามีกระจกประเภทใดบ้าง เพื่อประกอบการพิจารณา
เป็นกระจกที่มีผิวทั้งสองด้านเรียบสนิท เป็นกระจกที่มีความโปร่งใส มีคุณภาพสูง ทนทานต่อการขูดขีดเป็นรอยได้ดี มีความหนาที่นิยมใช้ คือ 5 ,6 ,8 มิลลิเมตร ถ้าต้องการหนากว่านี้ ระบบอลูมิเนียมจะต้องรองรับความหนาและน้ำหนักกระจกได้ด้วย
(ที่มา: https://www.wazzadu.com/article/1299)
เป็นการนำกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมายึดติดกันด้วยแผ่นฟิล์ม (PVB) ที่มีความเหนียวทนทานคั่นอยู่ระหว่างกลาง ทำหน้าที่ยึดเกาะให้กระจกติดกัน เมื่อกระจกถูกกระแทกจนแตก แผ่นฟิล์มจะยึดเกาะมิให้กระจกที่แตก หลุดร่วง จะมีเพียงรอยแตก หรือรอยร้าวคล้ายใยแมงมุมเท่านั้น ความหนาที่นิยมใช้ คือ 3+3 , 4+4 มิลลิเมตร
(ที่มา : https://www.agc-flatglass.co.th/product/กระจกลามิเนต)
(ที่มา : https://www.white-glass.com/laminated-glass-กระจกลามิเนต/)
กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) เป็นกระจกชนิดหนึ่งที่ถูกจัดให้เป็นกระจกประเภทนิรภัย โดยกระจกเทมเปอร์ถือเป็นกระจกนิรภัยชนิดแรกที่คนส่วนใหญ่นั้นนิยมใช้กันเนื่ิิองมาจากมีความคงทน แข็งแรง และปลอดภัยกว่ากระจกธรรมดา แข็งแรงกว่ากระจกทั่วไปประมาร 4-5 เท่า ทำให้รับแรงกระแทก กด บีบ ได้ดี เมื่อกระจกแตก กระจกจะแตกตัวเป็นเม็ดข้าวโพด ซึ่งอันตรายน้อยกว่ากระจกปกติที่แตกเป็นปากฉลาม ความหนาที่นิยมใช้ คือ 5, 6, 8 มิลลิเมตร
(ที่มา : https://armalutech.com/knowledge_1/)
กระจกอินซูเลท ประกอบด้วยกระจก 2 แผ่นคั่นด้วยแก๊สตรงกลางระหว่างกระจก 2 แผ่น โดยแก๊สนี้โดยทั่วไปจะเป็นแก๊สเฉื่อยหรือเป็นสุญญากาศ เพื่อลดการนำความร้อนระหว่างแผ่นกระจกทั้งสองแผ่น และลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในได้ดีขึ้น กระจกชนิดนี้จะมีความหนารวมช่องว่า ที่หนามาก เพราะฉะนั้นระบบอลูมิเนียมจะต้องรองรับความหนาและน้ำหนักกระจกได้ด้วยถึงจะติดตั้งได้
(ที่มา : https://www.smg-con.co.th/product-detail.php?id=6)
กระจกฝ้า เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในกรณีที่ต้องการปิดกั้นเพื่อความเป็นส่วนตัว แต่ยังคงต้องการให้แสงส่องผ่านได้ กระจกฝ้าจึงเป็นวัสดุที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ดีที่สุด ช่วย ตกแต่ง เพื่อเพิ่มความสวยงาม แต่ก็ยังคงให้ความเป็นส่วนตัวมากขึ้น โดยส่วนมาก กระจกฝ้าที่จะนำมาใช้ทำเป็น กระจกห้องอาบน้ำ ตู้อาบน้ำ หรือฉากกั้นอาบน้ำ โดยความหนาที่นิยมใช้ คือ 5, 6, 8 มิลลิเมตร (ที่มา: http://srang-baan.com/กระจกฝ้า/)
เป็นกระจกลามิเนตชนิดหนึ่งซึ่งนำผ้ามาวางอยู่ตรงกลางระหว่างกระจกและเยื่อชนิดใสพิเศษ มาติดไว้อยู่ตรงกลางระหว่างตัวกระจกที่ประกอบเข้าด้วยกัน โดยเป็นการสร้างลวดลายให้กับกรัจกเพื่อเพิ่มความสวยงาม สามารถสร้างสรรค์รูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด เหมาะสำหรับการตกแต่งภายในเพื่อเพิ่มความหรูหราโดดเด่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะ นอกจากนี้ยังควบคุมปริมาณแสงให้พอเหมาะตามที่ต้องการ
(ที่มา: https://www.wazzadu.com/article/1456)
กระจกชนิดนี้ เป็นการนำเอากระจกโฟลตมาผ่านกระบวนการวิธีและใช้ลูกกลิ้งที่มีลวดลาย พิมพ์บนพื้นผิวกระจกด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้เกิดลวดลาย texture ที่มีลักษณะนูน เหมือนคลื่น และทำให้ลักษณะของแสงที่ส่องผ่านเข้ามาจะน้อยกว่ากระจกใสแผ่นเรียบทั่วๆไป แสงที่เกิดขึ้นจึงทำให้ได้ความสวยงามที่แตกต่างกันได้อย่างน่าสนใจ ให้ความโปร่งแสง แต่ไม่โปร่งใสจนเกินไป ทำให้ความเป็นส่วนตัว ช่วยทำให้สถานที่ดังกล่าวฯ ดูโล่ง โปร่ง สบายตา อยู่แล้วไม่อึดอัด
(ที่มา: https://www.tykglass.com/article_detail/99)
ช่างอลูมิเนียมเป็นศาสตร์เฉพาะที่แยกออกจาก ผู้รับเหมาโครงสร้าง เมื่อคุยรายละเอียดงานประตูหน้าต่างอลูมิเนียม ต้องตรวจสอบสเปคและความถูกต้องของวัสดุให้เรียบเรียบ ทั้งยี่ห้ออลูมิเนียม คววามหนาหรือระบบที่เลือกใช้ ชนิดของบาน ระบบสี กระจก และอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบ อาทิ มือจับ ตัวล็อก ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เราจึงควรศึกษาและคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่างๆ ก่อนจะตัดสินใจเลือกผู้รับเหมา หรือช่างติดตั้ง
หากต้องการติดตั้งประตู-หน้าต่าง สิ่งที่ควรคำนึงก็คือประเภทของบาน ขนาดบาน ความหนาของอลูมิเนียมที่เลือกใช้ ประเภทกระจก ความหนากระจกและระบบของประตูหน้าต่างที่ท่านเลือกใช้ตามข้อมูลข้างต้น เพราะประตูหน้าต่างเป็นองค์ประกอบหนึ่งในบ้านที่อยู่กับเราไปหลายสิบปี การเลือกใช้ประตูหน้าต่างที่ดีมีคุณภาพจึงเหมือนกับการซื้อประกันให้บ้าน ลดความเสี่ยง และเพิ่มความปลอยภัยในการใช้งานในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ไทยเม็ททอล ได้เก็บข้อมูลราคาเฉลี่ยที่ผู้ติดตั้งเสนองาน ดังรายการต่อไปนี้
ทั้งนี้ ผู้ติดตั้งอลูมิเนียม ไม่ได้คิดต้นทุนสินค้าเป็น ตารางเมตร เพราะบานที่มีขนาดเล็ก ราคาต่อตารางเมตรจะสูงกว่า บานขนาดใหญ่ การเขียนเป็นตารางเมตร จึงเป็นการอธิบายโดยสรุปคร่าวๆ เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น
บานเลื่อน | ชุดบานเลื่อนระบบบานไทย | ราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 3,500-5,000 บาท* (ราคาเฉลี่ยที่ความหนาอลูมิเนียมที่ 1.2 มม. สีพ่นมาตรฐาน และกระจกโฟลตความหนา 6 มม.)*ราคาต่อตารางเมตร แปรผันตามขนาดสินค้า สินค้าขนาดเล็ก จะมีราคาต่อตารางเมตรสูงขึ้น |
ชุดพัฒนา X20 | ราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 5,500-6,800 บาท*
(ราคาเฉลี่ยที่ความหนาอลูมิเนียมที่ 1.2 มม. สีพ่นมาตรฐาน และกระจกโฟลต ความหนา 6 มม.) *ราคาต่อตารางเมตร แปรผันตามขนาดสินค้า สินค้าขนาดเล็ก จะมีราคาต่อตารางเมตรสูงขึ้น |
|
บานเฟี้ยม | ชุดประตูบานเฟี้ยม | ราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 10,000-12,500 บาท*
(ราคาเฉลี่ยที่ความหนาอลูมิเนียมที่ 1.5 มม. สีพ่นมาตรฐาน และกระจกโฟลตความหนา 6 มม.) *ราคาต่อตารางเมตร แปรผันตามขนาดสินค้า สินค้าขนาดเล็ก จะมีราคาต่อตารางเมตรสูงขึ้น |
บานเปิด/บานสวิง | ชุดประตูบานสวิง | ราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 6,000-7,500 บาท*
(ราคาเฉลี่ยที่ความหนาอลูมิเนียมที่ 1.5 มม. สีพ่นมาตรฐาน และกระจกโฟลต ความหนา 6 มม.) *ราคาต่อตารางเมตร แปรผันตามขนาดสินค้า สินค้าขนาดเล็ก จะมีราคาต่อตารางเมตรสูงขึ้น |
บานกระทุ้ง | ชุดบานกระทุ้ง รุ่นยูเนี่ยน | ราคาประมาณการ บานละ 4,500-7,000 บาท*
(ราคาเฉลี่ยที่ความหนาอลูมิเนียมที่ 1.5 มม. สีพ่นมาตรฐาน และกระจกโฟลตความหนา 6 มม.) *ราคาต่อตารางเมตร แปรผันตามขนาดสินค้า สินค้าขนาดเล็ก จะมีราคาต่อตารางเมตรสูงขึ้น |
ชุดบานกระทุ้ง A40 | ราคาประมาณการ บานละ 6,800-17,000 บาท*
(ราคาเฉลี่ยที่ความหนาอลูมิเนียมที่ 1.5 มม. สีพ่นมาตรฐาน และกระจกโฟลต ความหนา 6 มม.) *ราคาต่อตารางเมตร แปรผันตามขนาดสินค้า สินค้าขนาดเล็ก จะมีราคาต่อตารางเมตรสูงขึ้น |
และทั้งหมดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้นั้น เป็นข้อควรรู้ก่อนที่ท่านเจ้าของบ้านจะตัดสินใจเลือกติดตั้งประตู หน้าต่างอลูมิเนียม ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีต่อผู้อยู่อาศัย ในการการติดตั้งประตูหน้าต่างที่ดีและได้มาตรฐาน โดยอลูมิเนียมของไทยเม็ททอล ได้รับใบรับรองคุณภาพ รวมถึงมาตรฐานและระบบปฏิบัติการดังนี้
“ไทยเม็ททอล อลูมิเนียม” ผู้ผลิตอลูมิเนียมเส้นคุณภาพสูงแบบครบวงจร มาตรฐานสากล ปราศจากสารก่อมะเร็ง 100% ปลอดภัยต่อทุกคน ทั้งช่างอลูมิเนียมและเจ้าของบ้าน แข็งแรง ปลอดภัย มั่นใจทุกครั้งที่สัมผัส ปราศจากสารก่อมะเร็ง 100% ปลอดภัยกับช่างและผู้ใช้งาน อลูมิเนียมจากไทยเม็ททอลทุกชุด ผ่านการชุบสี/พ่นสีที่ได้มาตรฐานระดับสากล โดยเฉพาะการพ่นสีฝุ่นที่ได้มาตรฐาน AAMA 2603 จากอเมริกา สีจะได้รับการอบที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส มีความหนาสีถึง 60-80 ไมครอน ทำให้ทนทุกสภาวะอากาศ สีไม่กะเทาะ หรือร่อนออกมาเป็นแผ่น รับประกันยาวนานถึง 10 ปีเต็ม
เช็คลิสต์ข้อควรรู้ก่อนติดตั้งประตู หน้าต่าง อลูมิเนียม